x close

ตํานานสมเด็จนเรศวรมหาราช ภาค 3






ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3




ตัวอย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3



ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาค 3 ตอน ยุทธนาวี (พร้อมมิตร โปรดักชั่น)

กำหนดฉาย : 31 มีนาคม 2554 
กำกับ : ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล
นำแสดง : พันตรี วันชนะ สวัสดี, จา พนม, พันโทวินธัย สุวารี, นพชัย ชัยนาม, อินทิรา เจริญปุระ, ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ, ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง, สรพงษ์ ชาตรี

          ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์แห่งวีรกษัตริย์ผู้ทรงประกาศอิสรภาพ ของ "พระองค์ดำ" หรือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อภิมหากาพย์ภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งสยามประเทศที่คนทั้งชาติรอคอย โดย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล สานต่อเรื่องราวของพระนเรศฯ ที่ได้พาเชลยและคนไทยหนีกลับมายังแผ่นดินเกิด โดยทรงพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงฆ่าสุรกำมา แม่ทัพพม่าที่ได้ติดตามมา อันนำมาซึ่งการประกาศเอกราชที่เมืองแครง หลังจากทรงหลั่งทักษิโนทกประกาศความเป็นไทยไม่ขึ้นต่อพม่าอีกต่อไป

          ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 ยุทธนาวี สานต่อเรื่องราวเมื่อกองทัพอโยธยาจะต้องรับศึกที่รายล้อมมาประชิดเมือง ทั้งกองทัพของพระยาพะสิมที่ยกทัพเข้ามาผ่านด่านเจดีย์สามองค์, กองทัพของพระเจ้าเชียงใหม่ และฉากสำคัญคือการทำศึกยุทธนาวีของพระนเรศฯ เพื่อออกตามล่าตัวพระยาจีนจันตุ สายลับของเมืองละแวก อันเป็นฉากการรบทางน้ำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดฉากหนึ่ง ซึ่งคนไทยจะได้สัมผัสเป็นครั้งแรก ด้วยจำนวนเรือรบกว่าร้อยลำ พร้อมด้วยนักแสดงที่มาเสริมทัพอย่างคับคั่ง อาทิ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ,นุ่น ศิรพันธ์ วัฒนจินดา, นุ้ยเกศริน เอกธวัชกุล ฯลฯ

          ไม่เพียงแต่ความเข้มข้นในเรื่องราวสงคราม แต่ปมรักก็ดำเนินมาถึงช่วงเวลาสำคัญที่ยากจะหาทางแก้ ทั้งรักสามเส้าของเลอขิ่น ธิดาเจ้าเมืองคัง ,เสือฟ้า และพระราชมนู ไปจนถึงพระเจ้านันทบุเรง ที่มีจิตปฏิพัทธิ์ต่อสมเด็จพระสุพรรณกัลยา องค์ประกันหงสาผู้เป็นทั้งเมียพ่อ และพี่สาวของศัตรู

          เรื่องราวศึกรบ และความรักยังคงดำเนินต่อไป แต่เป้าหมายอันสำคัญยิ่งของพระนเรศฯ ในการทำให้อโยธยาเป็นไทจากหงสาให้จงได้ ยังคงไม่เสร็จสิ้นและนำไปสู่การทำยุทธหัตถี ที่ปรากฎชื่อลือไกลและต้องถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ใน "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4 ยุทธหัตถี"


ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3



ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3

          การประกาศเอกราชที่เมืองแครง และสังหารสุรกำมาเหนือยุทธภูมิฝั่งน้ำสะโตงของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (หรือ สมเด็จพระนเรศ) ในปีพุทธศักราช 2127 ได้สร้างความตระหนกแก่พระเจ้านันทบุเรงองค์ราชันหงสาวดีพระองค์ใหม่ ด้วยเกรงว่าการแข็งข้อของอยุธยาในครั้งนี้จะเป็นเยี่ยงอย่างให้เหล่าเจ้า ประเทศราชที่ขึ้นกับหงสาวดีอาศัยลอกเลียนตั้งตัวกระด้างกระเดื่องตาม แต่จนพระทัยด้วยติดพันศึกอังวะ จึงจำต้องส่งเพียงทัพพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่เข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา ทางหนึ่งนั้นพระเจ้านันทบุเรงทรงประมาทสมเด็จพระนเรศ ด้วยเห็นว่ายังอ่อน พระชันษา คงมิอาจรับมือจอมทัพผู้ชาญณรงค์ทั้งสองได้ ทางหนึ่งก็สำคัญว่ากรุงศรีอยุธยา ยังบอบช้ำแต่คราวสงครามเสียกรุง ไพร่พลเสบียงกรังยังมิบริบูรณ์คงยากจะรักษาพระนคร

          ครั้งนั้นพม่ารามัญยกเข้ามาเป็นศึกกระหนาบถึง 2 ทาง ทัพพระยาพะสิมยกเข้ามาทาง ด่านพระเจดีย์สามองค์ เลยล่วงเข้ามาถึงแดนสุพรรณบุรี ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่ นรธาเมงสอ มาจากทางเหนือ นำทัพบุกลงมาตั้งค่ายถึงบ้านสระเกศ แขวงเมืองอ่างทอง

          กิตติศัพท์การชนะศึกของสมเด็จพระนเรศหลายครั้งหลายคราระบือไกลถึงแผ่นดิน ละแวก เจ้ากรุงละแวกมิได้ทอดธุระ ได้ลอบส่งจารชนชาวจีนฝีมือกล้านามว่า "จีนจันตุ" มาลอบสืบความ ที่กรุงศรีอยุธยาแต่ถูกจับพิรุธได้จนต้องลอบตีสำเภาหนีกลับกรุงละแวก สมเด็จพระนเรศทรงนำทัพเรือออกตามจนเกิดยุทธนาวี แต่พระยาจีนจันตุหนีรอดได้ เมื่อเจ้ากรุงละแวกได้ทราบกิตติศัพท์การณรงค์ของพระนเรศจึงเปลี่ยนพระทัยหัน มาสานไมตรีกับอยุธยา และส่งพระศรีสุพรรณราชาธิราชผู้อนุชามาช่วยอยุธยาทำศึกหงสา หากแต่พระศรีสุพรรณผู้นี้ต่างจากเจ้ากรุงละแวกเพราะหาใคร่พอใจผูกมิตรด้วย อยุธยา การได้พระศรีสุพรรณมาเป็นสหายศึกจึงประหนึ่งอยุธยาได้มาซึ่งหอกข้างแคร่

          ข้าง สมเด็จพระนเรศ เมื่อทรงประกาศเอกราชแล้วก็จัดเตรียมการรับศึกหงสาวดี แต่เพราะกำลังรบข้างอยุธยาเป็นรอง จึงทรงวางยุทธศาสตร์รับศึกโดยมุ่งอาศัยกรุงศรีอยุธยาเป็นที่มั่นเพียงแห่ง เดียว ครั้งนั้นได้โปรดให้เทครัวหัวเมืองเหนืออันเป็นแคว้นสุโขทัยเดิมลงมารวมกับ ครัวที่อยุธยา การณ์ปรากฏว่าเจ้าเมืองพิชัยและสวรรคโลกข้าหลวงเดิมแข็งเมืองไม่เทครัวลงมา สมทบ จึงทรง ยึดเมืองแล้วลงทัณฑ์มิให้เป็นเยี่ยงอย่าง

          สมเด็จพระนเรศ ทรงเห็นว่ากำลังข้างอยุธยายังเป็นรองพม่ารามัญ จึงทรงปรับเปลี่ยน ยุทธศาสตร์การรบเสียใหม่ โดยมิปล่อยให้ทัพพระยาพะสิมและนรธาเมงสอเจ้าเมืองเชียงใหม่ เข้ามารวมกำลังผนึกล้อมร่วมกันตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งนั้นทรงจัดทัพออกรับศึกในแขวงหัวเมือง แลด้วยทัพพม่ารามัญแยกสายเข้าตีเป็นสองทางเดินทัพช้าเร็วไม่เสมอกัน จึงทรงเทกำลังเข้ารับศึกพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณบุรี ตั้งพระทัยจะตีทัพเบื้องประจิมทิศก่อน แล้วจึงเทกำลังเข้าตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่เบื้องอุดรทิศภายหลัง การทั้งหมดทั้งสิ้นต้องทำแข่งกับเวลา หากพลาดท่า แม้เพียงก้าวอยุธยาก็ไม่พ้นพินาศ ถึงแม้ครั้งนั้นทัพพม่ารามัญจะมิได้ยกมาดั่งทัพกษัตริย์เช่นศึกพระเจ้าช้าง เผือกบุเรงนอง แต่ไพร่พลก็มากเหลือประมาณเพียงพอจะสร้างความย่อยยับให้ เหล่าอาณาประชาราษฎร์เกินคาดเดา

          ภายใต้บรรยากาศกลิ่นอายสงครามนับแต่ศึกจีนจันตุ ตลอดถึงศึกพระยาพะสิมและ ศึกพระเจ้าเชียงใหม่ ในพระนครก็เกิดไฟรักโชติขึ้นท่ามกลางไฟสงคราม กลายเป็นเรื่องรักระหว่างรบ ด้วย "เลอขิ่น" ธิดาเจ้าเมืองคัง มีอันมาพบ "เสือหาญฟ้า" คนรักเก่าที่รอดชีวิตมาแต่ศึกเมืองคัง โดยบังเอิญ เกิดขัดข้องเป็นรักสามเส้ากับ "พระราชมนู" คนรักใหม่ทหารเสือพระนเรศ ไฟรักยิ่งลุกลามเมื่อนางพระกำนัลทรงเสน่ห์นาม "รัตนาวดี" มาทอดไมตรีให้พระราชมนู เกิดเป็นปมรัก ซ้อนปมรบ

          ทางฝ่ายหงสาวดีนั้น พระเจ้านันทบุเรงกษัตริย์พม่ารามัญพระองค์ใหม่มีใจพิศวาส พระสุพรรณกัลยา  พระพี่นางในสมเด็จพระนเรศ หมายจะได้มาแนบข้าง ซ้ำพระนเรศอนุชา มาประกาศเอกราชท้าทายอำนาจของพระองค์ ทำให้สถานะของพระสุพรรณกัลยาในฐานะ องค์ประกันต้องสุ่มเสี่ยงต่อราชภัย พระสุพรรณกัลยาซึ่งขณะนั้นมีพระราชโอรสด้วยพระเจ้าบุเรงนองแล้ว ทรงถูกพระเจ้านันทบุเรงข่มขู่ บีบบังคับให้ต้องเลือกระหว่างการยอมพลีกายถวายตัวเป็น บาทบริจาริกา หรือยอมจบชีวิตด้วยการถูกย่างสดตามโทษานุโทษของพระอนุชา ชะตากรรมของพระพี่นางสุพรรณกัลยานั้นสุดรันทด

          เมื่อพระเจ้าหงสาวดีทรงเสร็จศึกอังวะก็เตรียมการเปิดศึกกับอยุธยา ทรงระดมไพร่พล แต่งเป็นทัพกษัตริย์ กองทัพใหญ่โตเหลือคณากว่าทัพบุเรงนองช้างเผือก เฉพาะไพร่ราบมีกำลัง รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 240,000 คน ทัพนี้หมายมุ่งบดขยี้อยุธยาลงเป็นผุยผงหากทัพพระยาพะสิมและทัพพระเจ้า เชียงใหม่ตีกรุงไม่สำเร็จ แต่สมเด็จพระนเรศก็สู้ศึกนันทบุเรงและนำพากรุงศรีอยุธยา ให้รอดจากภัยสงคราม กู้บ้านเมืองมิให้ต้องตกเป็นประเทศราชหงสาซ้ำสองได้ด้วยกุศโลบาย การศึกที่เหนือชั้นด้วยพระอัจฉริยภาพ


 

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3



 

  ดูหนัง หนังใหม่ โปรแกรมหนัง หนังตัวอย่าง คลิกเลย


  คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก 
บริษัท พร้อมมิตร โปรดักชั่น จำกัด

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ตํานานสมเด็จนเรศวรมหาราช ภาค 3 อัปเดตล่าสุด 29 มีนาคม 2554 เวลา 10:42:24 10,756 อ่าน
TOP