เปิดประวัติ หม่อมน้อย ผู้กำกับชั้นครูกับผลงานอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

           ชื่นชมประวัติและผลงานของ "หม่อมน้อย" หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ผู้กำกับและอาจารย์ด้านการแสดงคนสำคัญของไทย เจ้าของผลงานชื่อดัง เพลิงพิศวาส, นางนวล, ชั่วฟ้าดินสลาย, อุโมงค์ผาเมือง, จัน ดารา, แผลเก่า และล่าสุดกับ Six Characters มายาพิศวง
หม่อมน้อย

ภาพจาก อินสตาแกรม @actingclass_hmom

          นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของวงการบันเทิงไทย สำหรับการจากไปของอาจารย์ด้านการแสดงและผู้กำกับมือทองของประเทศไทย หม่อมน้อย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 (อ่านเพิ่มเติม : ช็อกวงการภาพยนตร์ ! หม่อมน้อย เสียชีวิตในวัย 69 ปี - คุณชายอดัม โพสต์อาลัย) ซึ่งเมื่อพูดถึงผลงาน หม่อมน้อย ได้สร้างสรรค์ผลงานให้กับวงการบันเทิงมากมาย ทั้งภาพยนตร์ ละคร และละครเวที วันนี้กระปุกดอทคอมจะขอพาคุณ ๆ ไปรู้จักกับผลงานขึ้นหิ้งของท่านกัน
เปิดประวัติ หม่อมน้อย
อาจารย์ด้านการแสดงและผลงานโดดเด่น
หม่อมน้อย

ภาพจาก อินสตาแกรม @actingclass_hmom

         หม่อมน้อย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล เกิดวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2497 เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของหม่อมราชวงศ์ชนาญวัต เทวกุล กับนางภักดี เทวกุล ณ อยุธยา มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จากนั้นเข้าศึกษาที่ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะลาออกเพื่อมาทำงานด้านภาพยนตร์ในเวลาต่อมา

หม่อมน้อย

ภาพจาก อินสตาแกรม @actingclass_hmom

          หม่อมน้อย มีผลงานเรื่องแรกคือ เพลิงพิศวาส กับ สหมงคลฟิล์ม ที่ได้สร้างชื่อให้แก่ สินจัย เปล่งพานิช และในอีก 26 ปีต่อมา หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ ได้กลับมาร่วมงานกับสหมงคลฟิล์มอีกครั้งในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย จากนั้นก็มีผลงานการกำกับภาพยนตร์เรื่อยมา เช่น เพลิงพิศวาส (2527), ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529), ฉันผู้ชายนะยะ (2530), นางนวล (2530), เผื่อใจไว้ให้กันสักหน่อย (2532), ความรักไม่มีชื่อ (2533), มหัศจรรย์แห่งรัก (2538), อันดากับฟ้าใส (2540) และผลงานชิ้นสุดท้าย Six characters มายาพิศวง ที่เพิ่งเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 
หม่อมน้อย

ภาพจาก เฟซบุ๊ก สหมงคลฟิล์ม

          หม่อมน้อย เป็นทั้งครูผู้สอนด้านการแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และละครเวที โดยมีผลงานที่โดดเด่น แปลกใหม่ และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคนหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งท่านได้ปลุกปั้นนักแสดงหลายคน ไม่ว่าจะเป็น อนันดา เอเวอริงแฮม, พลอย เฌอมาลย์, มาริโอ้ เมาเร่อ, นิว ชัยพล, ตั๊ก บงกช, หญิง รฐา, แพนเค้ก เขมนิจ ฯลฯ
หม่อมน้อย

ภาพจาก เว็บไซต์ สหมงคลฟิล์ม

หม่อมน้อย

ภาพจาก อินสตาแกรม @actingclass_hmom

หม่อมน้อย

ภาพจาก อินสตาแกรม @actingclass_hmom

หม่อมน้อย

ภาพจาก อินสตาแกรม @actingclass_hmom

หม่อมน้อย

ภาพจาก เว็บไซต์ สหมงคลฟิล์ม

หม่อมน้อย

ภาพจาก อินสตาแกรม @actingclass_hmom

ผลงาน หม่อมน้อย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล

ผลงานกำกับภาพยนตร์ หม่อมน้อย

  • เพลิงพิศวาส (2527)
  • ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529)
  • ฉันผู้ชายนะยะ (2530)
  • นางนวล (2530) [6]
  • เผื่อใจไว้ให้กันสักหน่อย (2532)
  • ความรักไม่มีชื่อ (2533)
  • มหัศจรรย์แห่งรัก (2538)
  • อันดากับฟ้าใส (2540)
  • ชั่วฟ้าดินสลาย (2553)
  • อุโมงค์ผาเมือง (2554)
  • จัน ดารา ปฐมบท (2555)
  • จัน ดารา ปัจฉิมบท (2556)
  • แผลเก่า (2557)
  • แม่เบี้ย (2558)
  • Six characters มายาพิศวง (2565)
หม่อมน้อย

ภาพจาก เว็บไซต์ สหมงคลฟิล์ม

หม่อมน้อย

ภาพจาก เว็บไซต์ สหมงคลฟิล์ม

หม่อมน้อย

ภาพจาก เว็บไซต์ สหมงคลฟิล์ม

หม่อมน้อย

ภาพจาก เว็บไซต์ สหมงคลฟิล์ม

หม่อมน้อย

ภาพจาก เว็บไซต์ สหมงคลฟิล์ม

หม่อมน้อย

ภาพจาก เว็บไซต์ สหมงคลฟิล์ม

หม่อมน้อย

ภาพจาก เฟซบุ๊ก M Pictures

ผลงานกำกับละคร หม่อมน้อย

  • เทพธิดาบาร์ 21 (มินิซีรีส์ 2533)
  • ช่างมันฉันไม่แคร์ (2536)
  • แผ่นดินของเรา (2539)
  • ซอยปรารถนา 2500 (2541)
  • ปีกทอง (2542)
  • ลูกทาส (2544)
  • คนเริงเมือง (2545)
  • ทะเลฤๅอิ่ม (2546)
  • สี่แผ่นดิน (2546)
  • ในฝัน (2549)
  • ศรีอโยธยา (2560)
หม่อมน้อย

ภาพจาก เว็บไซต์ สหมงคลฟิล์ม

ผลงานกำกับละครเวที หม่อมน้อย

  • ALL MY SON (2517) - แสดงที่หอประชุม A.U.A
  • บัลเลต์พระราชนิพนธ์ "ความฝันอันสูงสุด" (2518) - แสดงที่โรงละครแห่งชาติ
  • The Lower Depths (2517, 2518) - แสดงที่โรงละครคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และโรงละครแห่งชาติ
  • IMPROMPTU (2520) - แสดงที่สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน
  • LES MALENTANDU (2524) - แสดงที่หอประชุมคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เทพธิดาบาร์ 21 (2529) - แสดงที่โรงละครมณเฑียรทอง
  • ONE FLEW OVER THE CUCKOO’S NEST (2530) - แสดงที่โรงละครมณเฑียรทอง
  • ผู้แพ้ผู้ชนะ (2532) - แสดงที่โรงละครมณเฑียรทอง
  • พรายน้ำ (2533) - แสดงที่โรงละครมณเฑียรทอง
  • ราโชมอน (2534) - แสดงที่โรงละครมณเฑียรทอง
  • ปรัชญาชีวิต (2531-2533) - แสดงที่ตึกร้าง บ.แปลนอคิวเท็ก, เชียงใหม่ สปอร์ตคลับ, ม.ขอนแก่น
  • พระผู้เป็นดวงใจ ของโรงเรียนสวนจิตรลดา (2529) - แสดงที่หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ
  • แฮมเล็ต เดอะ มิวสิเคิล (2538) - แสดงที่หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ
หม่อมน้อย

ภาพจาก เว็บไซต์ สหมงคลฟิล์ม

รางวัลที่ หม่อมน้อย ได้รับ

  • รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2552 - คนเบื้องหลังแห่งปี
  • เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2553 - สาขางานกำกับภาพยนตร์แห่งปี (สำหรับภาพยนตร์ไทย)
  • ท็อปอวอร์ด ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2554 - ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (จัน ดารา ปฐมบท)
หม่อมน้อย

ภาพจาก เว็บไซต์ สหมงคลฟิล์ม

           หลังข่าวการเสียชีวิตของหม่อมน้อยในวัย 69 ปี ซึ่งเป็นการจากไปอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งปอด หลังจากเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนเกือบ 2 เดือน คนในวงการบันเทิงต่างร่วมแสดงความเสียใจต่อการจากไปของบุคคลสำคัญแห่งวงการบันเทิงและอาจารย์ด้านการแสดงที่สำคัญคนหนึ่งของเมืองไทย ซึ่งทางกระปุกดอทคอมก็ขอแสดงความเสียใจและร่วมไว้อาลัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บไซต์ Wikipedia, สหมงคลฟิล์ม
ขอบคุณภาพจาก : อินสตาแกรม @actingclass_hmom, เฟซบุ๊ก สหมงคลฟิล์ม, เว็บไซต์ สหมงคลฟิล์ม (1), (2), (3), (4), (5), (6), เฟซบุ๊ก M Pictures

 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปิดประวัติ หม่อมน้อย ผู้กำกับชั้นครูกับผลงานอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ อัปเดตล่าสุด 24 สิงหาคม 2566 เวลา 15:54:11 17,341 อ่าน
TOP
x close