เมื่อค่าตัวมหาศาลไม่ใช่คำตอบเสมอไป 10 นักแสดงแถวหน้าจึงยอมลดค่าตัวเพื่อได้สวมบทในฝัน
ผลตอบแทนเป็นตัวเงินจำนวนมหาศาล คือผลประโยชน์ที่ดาราฮอลลีวูดมีเหนืออาชีพอื่นโดยทั่วไป แต่ถึงแม้บางคนจะเคยชินกับการรับค่าเหนื่อย 7-8 หลัก แต่มีหลายครั้งที่พวกเขามองข้ามผลกำไรเป็นตัวเงิน แล้วโฟกัสไปที่ความชอบในบทนั้น ๆ มากกว่า และสิ่งที่เรากำลังจะพูดถึงคือรายชื่อของ 10 นักแสดงที่ยอมลดค่าตัวเพื่อรับบทในฝัน รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ The Telegraph, The Big Money Guide และ Cheat Sheet นับเป็นความทุ่มเทของคนที่ต้องการทดลองสิ่งแปลกใหม่ และเสียสละเพื่อความก้าวหน้าทางอาชีพอย่างแท้จริง
โอกาสได้ร่วมงานกับผู้กำกับในดวงใจอย่าง มาร์ติน สกอร์เซซี (Martin Scorsese) คือข้อเสนอล้ำค่าที่ทำให้ โจนาห์ ฮิลล์ ยอมรับค่าตัวเพียง 60,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อร่วมแสดงสมทบในหนังเรื่อง The Wolf of Wall Street (2013) โดยเขาเปิดใว่า "ผมยอมขายบ้านและยกเงินทั้งหมดให้กับสกอร์เซซีหากได้ร่วมงานกับเขา ผมยินยอมทำทุกอย่างในโลก และยอมทำโดยไม่ลังเลเลยด้วย" ซึ่งภายหลังเขาให้สัมภาษณ์ว่าการตัดสินใจครั้งนั้นช่างคุ้มค่า เพราะนอกจากจะได้ร่วมงานผู้กำกับในดวงใจแล้ว ยังทำให้เขาได้เข้าชิงรางวัลออสการ์เป็นครั้งที่ 2 ต่อจากเรื่อง Moneyball (2011)
การลดน้ำหนักกว่า 40 ปอนด์ เพื่อรับบทผู้ติดเชื้อ HIV ในหนังเรื่อง Dallas Buyers Club (2014) น่าจะเป็นข้อพิสูจน์ที่เพียงพอว่า แมทธิว แม็คคอนาเฮย์ มีศรัทธาในโปรเจคท์นี้แค่ไหน แต่ทราบหรือเปล่าว่านั่นกลับไม่ใช่สิ่งเดียวที่เขาเสียสละ เพราะในช่วงที่คว้าบทนี้มาครองในปี 2010 เขายอมทิ้งรายได้กว่า 15 ล้านเหรียญสหรัฐ จากหนังที่ดัดแปลงจากซีรีส์ Magnum, P.I. เพื่อมารับค่าตัว 2 แสนเหรียญสหรัฐในโปรเจคท์นี้ ผลลัพธ์ที่ได้คือการยกระดับอาชีพของตัวเองไปอีกขั้น ในฐานะดาราเจ้าของรางวัลออสการ์จากบทนี้
อย่าเพิ่งตกใจหากทราบว่านักร้องนำแห่งวง Maroon 5 เล่นหนังเรื่อง Begin Again (2014) โดยไม่รับค่าตัวแม้แต่สลึงเดียว เหตุผลที่เขาตัดสินใจเล่นหนังเรื่องนี้แบบฟรี ๆ เป็นเพราะเขาต้องการทุ่มเทให้กับการแสดงให้ต่างออกไปจากเดิม เพราะเอาเข้าจริงรายได้ปกติของนักร้องระดับโลกก็มากพออยู่แล้ว เขาจึงทำสิ่งที่ชอบได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินเลยแม้แต่น้อย
หลังแสดงนำในหนังเรื่อง The Notebook เมื่อปี 2004 ชื่อเสียงของ ไรอัน กอสลิง ก็เริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะดาราหนังทำเงิน แต่ถึงอย่างนั้นผลงานถัดมาของเขาอย่าง Half Nelson (2006) กลับไม่ใช่หนังฟอร์มยักษ์อย่างที่หลายคนรอชม โดยเขารับค่าตัวเพียงสัปดาห์ละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากการสวมบทเป็นครูติดยาเสพติด ส่วนผลกำไรอย่างอื่นที่ได้กลับมาคือ การถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
จอร์จ คลูนีย์ (George Clooney)
ไม่น่าเชื่อว่าดาราระดับตัวพ่ออย่าง จอร์จ คลูนีย์ จะตอบตกลงรับค่าตัว 120,000 เหรียญสหรัฐ และกับการควบหน้าที่เขียนบท กำกับ และร่วมแสดงในหนังเรื่อง Good Night and Good Luck (2005) ซึ่งเล่าชีวิตจริงของนักข่าวในตำนาน เอ็ดเวิร์ด อาร์ เมอร์โรว์ (Edward R. Murrow) ผลจากความพยายามส่งให้หนังเรื่องนี้เข้าชิงรางวัลออสการ์ 6 สาขา รวมถึงสาขาหนังยอดเยี่ยมและผู้กำกับยอดเยี่ยม หลังจากนั้นในปี 2011 เขาขอทุ่มเทให้กับบทในฝันอีกครั้งในหนังเรื่อง The Descendants ที่รับค่าเหนื่อยเพียง 300,000 เหรียญสหรัฐ
ต่อให้เป็นนักแสดงวัยรุ่นที่เคยรับค่าเหนื่อยสูงสุดคนหนึ่งในฮอลลีวูด แต่ที่แน่ ๆ ค่าตัวของเธอในหนังทุนต่ำเรื่อง The Canyons (2013) อาจไม่มากอย่างที่คิด มีรายงานเธอได้รับค่าตัวน้อยกว่า 7,000 เหรียญสหรัฐ มิหนำซ้ำหนังเรื่องนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จทั้งด้านรายได้และคำวิจารณ์อีกต่างหาก และถ้าหากเทียบกับค่าตัวที่เคยได้รับกว่า 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเรื่อง อาจเรียกได้ว่ารายได้จากหนังเรื่องนี้ดูจิ๊บจ๊อยไปเลย
แบรด พิตต์ (Brad Pitt)
คริส อีแวนส์ (Chris Evans)
แม้เพื่อนนักแสดงอย่าง โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ (Robert Downey Jr.) จะรับค่าตัวจากการสวมบทไอรอนแมนมากถึง 50 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ถึงอย่างนั้นเจ้าของบทกัปตันอเมริกาอย่าง คริส อีแวนส์ กลับรับค่าตัวเพียง 300,000 เหรียญสหรัฐ เมื่อครั้งที่เขามีหนังเดี่ยวของตัวเองเป็นเรื่องแรก ก่อนเพิ่มเป็น 2-3 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการปรากฏตัวในหนัง The Avengers (2012) นับเป็นสมาชิกในแก๊งอเวนเจอร์ที่ได้ค่าตัวน้อยที่สุดคนหนึ่งหากเทียบกับบทไอรอนแมน
อีธาน ฮอว์ก (Ethan Hawke)
ถึงจะขึ้นชื่อเป็นนักแสดงแถวหน้าของวงการ แต่คุณจะต้องแปลกใจเมื่อทราบว่า อีธาน ฮอว์ก ไม่ได้รับค่าตัวจากการแสดงนำในหนังทุนต่ำเรื่อง The Purge (2013) เพราะโปรเจคท์นี้ใช้ทุนสร้างเพียง 3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า "ที่นั่นไม่มีสิทธิพิเศษ ไม่มีรถเทรลเลอร์ ไม่มีคนขับรถ มีเพียงบทเจ๋ง ๆ กับผู้กำกับที่ยอดเยี่ยมเท่านั้น" อย่างไรก็ตามเขาตัดสินใจรับค่าตัวโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากรายได้ของหนัง ซึ่งทำเงินทั่วโลกราว 89 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทอม ครูซ (Tom Cruise)
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Mission: Impossible
เพื่อช่วยให้โครงการหนังเรื่อง Mission : Impossible - Ghost Protocol (2011) เกิดขึ้นจริง ทอม ครูซ ตัดสินใจไม่รับค่าตัวจากการร่วมงานในฐานะนักแสดงและโปรดิวเซอร์ การตัดสินใจเช่นนี้ทำให้หนังทำกำไรได้มากกว่าที่คิด และสามารถกวาดรายได้รวมจากทั่วโลกอย่างถล่มทลาย แต่ท้ายที่สุดเขารับค่าตอบแทน 30 เปอร์เซ็นต์จากรายได้ทั้งหมดของหนัง หรือคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 75 ล้านเหรียญสหรัฐ
สิ่งที่เราพอสรุปได้จากเรื่องราวทั้งหมด คือความทุ่มเทของอาชีพนักแสดงที่ไม่ได้มีค่าตอบแทนเป็นเป้าหมายเสมอไป เพราะบางทีการสร้างสรรค์ผลงานที่ตัวเองอยากทำ กลับมีคุณค่าแฝงอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว